หน้าเว็บ

Tuesday, August 27, 2013

พลู 8 ลูก (Eight Ball)

พูล 8 ลูกเป็นกีฬาที่เล่นโดยใช้ลูกเป้าทั้ง 15 ลูกและลูกคิวบอล โดยผู้เล่นจะต้องเลือกกลุ่มของลูกเป้าคนละ 7 ลูก (ตั้งแต่หมายเลข 1 - 7 และ 9 - 15) แล้วตบลูกในกลุ่มของตนให้ลงให้หมด จึงจะมีสิทธิ์ตบลูกหมายเลข 8 ซึ่งใครทำได้ก่อนโดยไม่ผิดกติกา ถือว่าเป็นผู้ชนะในเกมนั้นๆ ผู้เล่นจะต้องขานลูกและหลุมทุกครั้งก่อนแทงด้วย

  1. การเสี่ยงทายเพื่อหาลำดับในการเล่น(Determining the Break)

    ผู้เล่นที่ชนะการเสี่ยงทายในการขึ้นชิ่งจะเป็นผู้เลือกว่าใครจะเป็นผู้แทงไม้เปิดก่อนตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการขึ้นชิ่งเพื่อจัดลำดับผู้เล่น (Lagging to Determine Order of Play) มาตรฐานของการเล่นทั่วไปคือ การเล่นแบบผลัดกันแทงเปิด

  2. การตั้งลูกในการเปิดเกม (Eight Ball Rack)

    นำลูกเป้าทั้ง 15 ลูกมารวมกันเป็นรูปสามเหลี่ยมให้ติดกันให้แน่นที่สุด โดยมีลูกบนสุดอยู่บนจุด Foot spot แล้วให้ลูกหมายเลข 8 เป็นลูกที่อยู่ในตำแหน่งใต้ลูกบนสุดถัดลงมา ลูกที่อยู่ตรงมุมขวาและซ้ายของสามเหลี่ยมให้เป็นลูกที่มาจากคนละกลุ่มกัน และลูกอื่นๆ ที่เหลือไม่จำเป็นต้องมีข้อกำหนดใด ๆ ตามรูป

  3. การแทงไม้เปิด (Break Shot)

    การแทงเปิด จะต้องมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้

    1. ผู้เล่นเล่นลูกคิวบอลจากในมือโดยวางลูกไว้หลังเส้นในเมือง (Head String)
    2. ไม่จำเป็นต้องขานลูกและหลุมในไม้เปิด และจะแทงให้โดนลูกใดก่อนก็ได้
    3. หากมีลูกลงหลุมไปในไม้เปิดโดยไม่มีการทำฟาล์วเกิดขึ้น ผู้เล่นสามารถแทงต่อไปได้ และผู้เล่นยังสามารถเลือกกลุ่มที่ต้องการจะแทงได้อย่างเสรีตามกฎสภาพโต๊ะเปิด / การเลือกกลุ่มลูกเป้า (SecoOpen Table / Choosing Groups)
    4. ถ้าไม่มีลูกใดลงหลุมแล้วจะต้องมีลูกวิ่งเข้าไปกระทบชิ่งอย่างน้อย 4 ลูก จึงจะไม่เป็นการทำฟาล์ว และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะสามารถเลือกเล่นได้ ดังนี้
      • เล่นต่อไปจากตำแหน่งที่ลูกทั้งหมดไปหยุดอยู่
      • ขอให้ตั้งโต๊ะ เพื่อทำการแทงเปิดใหม่
      • ตั้งใหม่และให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามแทงเปิดใหม่อีกครั้ง
    5. การตบลูกหมายเลข 8 ลงหลุมไปในไม้เปิด ไม่ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว และผู้แทงเปิดมีสิทธิ์ที่จะเลือกเล่นได้ ดังนี้
      • นำลูกหมายเลข 8 กลับมาตั้งที่จุด Foot Spot แล้วเล่นต่อไป
      • ให้ทำการแทงเปิดใหม่อีกครั้ง
    6. หากลูกหมายเลข 8 ลงหลุมไปในไม้เปิด และลูกคิวบอลเปลี่ยนลงหลุมไปด้วยตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของแทงเปลี่ยน (Scratch) ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีทางให้เลือกได้ดังนี้
      • นำลูกหมายเลข 8 มาตั้งที่จุด Foot Spot และเล่นลูกคิวบอลจากในมือหลังเส้นในเมือง (Head String)
      • แทงเปิดใหม่อีกครั้ง
    7. หากมีลูกหนึ่งลูกใดกระเด็นตกจากโต๊ะไปในไม้เปิด ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว ลูกที่ตกโต๊ะไปจะไม่นำกลับมาตั้ง (ยกเว้นลูกหมายเลข 8) ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์เลือกเล่นได้ ดังนี้
      • เล่นต่อไปจากตำแหน่งที่ลูกทั้งหมดไปหยุดอยู่
      • เล่นลูกคิวบอลจากในมือหลังเส้นในเมือง (Head String)
    8. หากผู้แทงเปิดทำฟาล์วในกรณีอื่นที่นอกเหนือจากที่ระบุมาข้างต้น ผู้เล่นคนต่อไปมีสิทธิ์เลือกเล่นได้ ดังนี้
      • เล่นต่อไปจากตำแหน่งที่ลูกทั้งหมดไปหยุดอยู่
      • เล่นลูกคิวบอลจากในมือหลังเส้นในเมือง (Head String)
  4. สภาพโต๊ะเปิด / การเลือกกลุ่มของลูกเป้า (Open Table / Choosing Groups)

    โต๊ะจะยังอยู่ในสภาพเปิด (Open Table) ก่อนจะมีการเลือกกลุ่มที่ผู้เล่นต้องการเกิดขึ้น ก่อนการแทงลูกทุกไม้ ผู้เล่นจะต้องขานลูกและหลุมที่จะแทง เมื่อผู้เล่นตบลูกลงหลุมที่ขานไปลง ผู้เล่นจะได้สิทธิ์ในการแทงลูกในกลุ่มนั้น และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะได้เล่นลูกอีกกลุ่มหนึ่ง หากผู้เล่นตบไม่ลงโต๊ะยังคงอยู่ในสภาพเปิด และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยังมีสิทธิ์ที่จะเลือกเล่นลูกกลุ่มใดก็ได้ ในขณะที่เป็นโต๊ะเปิด ผู้เล่นสามารถเลือกแทงลูกใดก่อนได้ ยกเว้นลูกหมายเลข 8

  5. การเข้าเบรค (Continuing Play)

    ผู้เล่นสามารถต่อเบรคไปได้เรื่อย ๆ ตราบใดที่ยังตบลูกที่ขานลงหลุมที่ต้องการอย่างไม่ผิดกติกา หรือจนกว่าจะตบลูกหมายเลข 8 ลงไปเพื่อชนะในเกมนั้น

  6. การขานลูก และหลุมที่จะเล่น (Shots Required to Be Called)

    ในการแทงทุกครั้งที่ไม่ใช่ไม้เปิด ผู้เล่นจะต้องขานลูก และหลุมที่จะแทงให้ชัดเจนตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของมาตรฐานการขานลูกและหลุม (Standard Call Shot) ลูกหมายเลข 8 จะขานได้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นตบลูกในกลุ่มของตนเองหมดโต๊ะไปแล้วเท่านั้น ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นลูกป้องกัน safety ซึ่งถึงแม้ผู้เล่นจะตบลูกลงหลุมไปก็ตาม ผู้เล่นจะไม่ต้องแทงต่อถือเป็นการหมดเที่ยวแทงไปตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของการแทงลูกป้องกัน (Safety Shot)

  7. การนำลูกกลับมาตั้ง (Spotting Balls)

    หากลูกหมายเลข 8 ถูกตบลงหลุมหรือกระเด็นตกโต๊ะไปในไม้เปิด จะต้องนำกลับมาตั้ง หรือให้มีการแทงเปิดกันใหม่ตามกฎการแทงไม้เปิด (Break Shot) และกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการนำลูกกลับมาตั้ง (Spotting Balls) ส่วนลูกเป้าอื่น ไม่มีการนำกลับมาตั้งอีก

  8. การพ่ายแพ้ในเกมที่เล่น (Losing the Rack)

    ผู้แทงจะแพ้เกม ต่อเมื่อ

    1. ทำฟาล์วในขณะที่กำลังตบลูกหมายเลข 8
    2. ทำลูกหมายเลข 8 ลงหลุมไปในขณะที่ลูกในกลุ่มของตนเองยังเหลืออยู่บนโต๊ะ
    3. ทำลูกหมายเลข 8 ลงผิดหลุมที่ระบุ
    4. แทงลูกหมายเลข 8 ตกจากโต๊ะ
    ทั้งหมดนี้ ไม่มีผลกับการแทงในไม้เปิดตามกฎการแทงไม้เปิด (Break Shot)
  9. การทำฟาล์ว (Standard Fouls)

    เมื่อผู้เล่นทำฟาล์วเที่ยวแทงจะจบสิ้นลงและผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะได้ขึ้นมาเล่น โดยได้เล่นลูกจากในมือ และสามารถวางลูกคิวบอลไว้ในตำแหน่งใดก็ได้บนโต๊ะตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการเล่นลูกในมือ (Cue Ball in Hand)

    ส่วนการทำฟาล์วของพูล 8 ลูกโดยทั่วไป มีดังนี้

    1. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการเปลี่ยนลูกคิวบอล หรือแทงลูกคิวบอลตกจากโต๊ะ (Cue Ball Scratch or off the Table)
    2. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงผิดลูก (Wrong Ball First) ผู้เล่นจะต้องแทงให้โดนลูกในกลุ่มของตนเองก่อนเสมอ ยกเว้นในขณะที่โต๊ะยังอยู่ในสภาพเปิดตามกฎสภาพโต๊ะเปิด / การเลือกกลุ่มลูกเป้า (SecoOpen Table / Choosing Groups)
    3. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงลูกไม่ถึงชิ่ง (No Rail after Contact)
    4. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงโดยเท้าทั้งสองไม่สัมผัสพื้น (No Foot on Floor)
    5. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงลูกเป้าตกจากโต๊ะ (Ball Driven off the Table)
    6. การทำฟาล์ว (Fouls) ของลูกติด (Touched Ball)
    7. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงโดนลูกคิวบอลสองครั้ง (Double Hit/Frozen Balls)
    8. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงไม้ยาว (Push Shot)
    9. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงในขณะที่ลูกยังไม่หยุดนิ่ง (Balls Still Moving)
    10. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการวางลูกคิวบอลผิดตำแหน่ง (Bad Cue Ball Placement)
    11. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงลูกผิดกติกาจากบริเวณในเมือง (Bad Play from Behind the Head String)
    12. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการวางไม้คิวบนโต๊ะ (Cue Stick on the Table)
    13. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงผิดเที่ยวแทง (Playing out of Turn)
    14. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง (Three Consecutive Fouls)
    15. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการเล่นช้า (Slow Play)
  10. การทำฟาล์วขั้นรุนแรง (Serious Fouls)

    การทำฟาล์วที่ระบุไว้ภายใต้ตามกฎการพ่ายแพ้ในเกมที่เล่น (Losing the Rack) หมายถึงผู้เล่นจะแพ้ในเกมที่กำลังเล่นอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น

    ส่วนในการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct) ผู้ตัดสินจะใช้ดุลยพินิจในการลงโทษเพื่อให้เหมาะสมกับการทำฟาล์วที่เกิดขึ้น

  11. การเล่นในจุดอับ (Stalemate)

    การเกิดกรณีจุดอับขึ้นตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการเล่นในจุดอับ (Stalemate) ผู้เล่นที่แทงเปิดในเกมนั้น จะเป็นผู้แทงเปิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง


Refer to:

การทำฟาล์ว (Fouls)

การทำฟาล์วในกีฬาพูลที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการทำฟาล์วทั่วไปที่สามารถใช้ได้กับกีฬาพูลเกือบทุกประเภท ซึ่งจะมียกเว้นในบางข้อสำหรับพูล บางประเภทซึ่งได้ระบุไว้ในกติกาของประเภทนั้นๆ ไว้แล้ว หากมีการทำฟาล์วมากกว่า 1 ประเภทเกิดขึ้นใน 1 เที่ยวแทง ให้นับเป็การฟาล์วเพียง 1 ครั้งและผู้เล่นจะถูกปรับฟาล์วในประเภทที่รุนแรงที่สุด

หากไม่มีการขานฟาล์วจนผู้เล่นได้แทงในไม้ต่อไปแล้ว การฟาล์วนั้นให้ถือว่าเป็นโมฆะ

  1. การเปลี่ยนลูกคิวบอล หรือแทงลูกคิวบอลตกจากโต๊ะ (Cue Ball Scratch or off the Table)

    หากผู้เล่นแทงเปลี่ยน หรือแทงลูกคิวบอลตกจากโต๊ะ ถือเป็นการทำฟาล์ว ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของลูกลงหลุม (Ball Pocketed) และคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของลูกตกโต๊ะ (Driven off the Table)

  2. การแทงผิดลูก (Wrong Ball First)

    ในเกมที่มีกติการะบุให้ผู้เล่นต้องแทงลูกเป้าตามหมายเลข หรือตามกลุ่มของลูก หากผู้เล่นแทงไม่ถูกลูกที่บังคับให้เล่นเป็นลูกแรก ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว

  3. การแทงลูกไม่ถึงชิ่ง (No Rail after Contact)

    ถ้าไม่มีการตบลูกใด ๆ ลงหลุมแล้วลูกคิวบอลจะต้องแทงให้ถูกลูกเป้า และจะต้องมีลูกใดลูกหนึ่ง (ลูกคิวบอล หรือลูกใดก็ได้) วิ่งไปกระทบชิ่ง หากไม่มีลูกใดวิ่งไปกระทบชิ่ง ถือว่าเป็นการฟาล์ว ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของการแทงให้โดนชิ่ง (Driven to a Rail)

  4. การแทงโดยเท้าทั้งสองไม่สัมผัสพื้น (No Foot on Floor)

    เมื่อหัวคิวกระทบลูกคิวบอลในการแทงแต่ละครั้ง เท้าของผู้เล่นอย่างน้อย 1 ข้างจะต้องสัมผัสพื้น หากเท้าพ้นจากพื้นทั้งสองข้าง ถือว่าเป็นการฟาล์ว

  5. การแทงลูกเป้าตกจากโต๊ะ (Ball Driven off the Table)

    หากผู้เล่นแทงลูกเป้ากระเด็นตกจากโต๊ะ ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว ลูกที่ตกจากโต๊ะไปจะนำกลับมาตั้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของเกม กติกา ว่าลูกที่ตกไปเป็นลูกใด ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของลูกตกโต๊ะ (Driven off the Table)

  6. ลูกติด (Touched Ball)

    การทำให้ลูกใด ๆ บนโต๊ะเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนทิศทางการเดินของลูกโดยไม่ได้มาจากการแทงอย่างถูกกติกา ถือเป็นการทำฟาล์ว การไปแตะต้อง โยกย้าย หรือทำให้ลูกเคลื่อนไหวโดยไม่ได้มาจากการแทงด้วยหัวคิว หรือไม่ได้มาจากการได้เล่นลูกในมือ (Ball in Hand) ถือว่าเป็นการทำฟาล์วทั้งหมด ผู้เล่นจะต้องรับผิดชอบในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ให้ไปแตะต้องลูกใดๆ บนโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นชอล์ค ไม้เรสต์ต่าง ๆ เสื้อผ้า เส้นผม หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ขณะที่ลูกคิวบอลอยู่ในมือ (in hand) ก็สามารถกระทำการฟาล์วได้ หากการทำฟาล์วนั้นเป็นการเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา ก็ถือว่าเป็นการทำฟาล์วทั่วไป หากเจตนา จะถือเป็นตามการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct)

  7. การแทงโดนลูกคิวบอลสองครั้ง (Double Hit/Frozen Balls)

    ถ้าหัวคิวกระทบลูกคิวบอล 2 ครั้งติด ๆ กันในการออกคิวแล้วถือเป็นการทำฟาล์ว

    ถ้าลูกคิวบอลอยู่ใกล้จนเกือบติดกับลูกเป้า และหัวคิวยังไม่พ้นจากลูกคิวบอลในขณะที่ลูกคิวบอลสัมผัสกับลูกเป้าแล้วถือว่าเป็นการทำฟาล์ว

    ถ้าลูกคิวบอลอยู่เกือบติดกับลูกเป้า และผู้เล่นแทงให้ลูกคิวบอลสัมผัสลูกเป้ามีไม่ครูด หรือครูดน้อยมากแล้วถือว่าการแทงนั้นไม่ได้ผิดกติกาในย่อหน้าสอง ถึงแม้ว่าหัวคิวอาจจะยังอยู่บนลูกคิวบอล เมื่อมีการสัมผัสกับลูกเป้าเกิดขึ้นก็ตาม

    อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกคิวบอลติดอยู่กับลูกเป้า ผู้เล่นสามารถแทงเข้าไปหาลูกเป้า หรือให้โดนลูกเป้าอย่างแผ่วเบาได้ (ลูกเป้าเป็นลูกที่อยู่ในเที่ยวแทงของเกมนั้น) และเมื่อลูกเป้ามีการเคลื่อนไหว ถือว่าได้มีการแทงโดนลูกเป้านั้นแล้ว (ถึงแม้ว่ากติกาจะอนุญาตให้ผู้เล่นแทงลูกคิวบอลเข้าไปหาลูกเป้าที่อยู่ติดกันได้ ผู้เล่นก็ยังต้องระมัดระวังในการทำฟาล์วกรณีที่กล่าวไว้ในย่อหน้าสองที่อาจเกิดขึ้นกับลูกอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้)

    ลูกคิวบอลจะไม่ถือว่าเป็นลูกที่ติดกับลูกเป้าจนกว่า ผู้ตัดสินจะขานว่าเป็น ลูกติด (Touching) หรือจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนแล้วเท่านั้น ผู้แทงจะต้องให้ผู้ตัดสิน หรือคู่แข่งขันรับทราบ และยืนยันว่าเป็นลูกติด ก่อนจะแทงออกไป การแทงออกไปจากลูกติดไม่ถือว่าเป็นการแทงถูกลูกนอกจากจะได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษเฉพาะบางเกมเท่านั้น

  8. การแทงไม้ยาว (Push Shot)

    หากผู้เล่นแทงโดยให้หิวคิวลากไปกับลูกคิวบอล ถือว่าเป็นการทำฟาล์วด้วยการแทงไม้ยาว

  9. การแทงในขณะที่ลูกยังไม่หยุดนิ่ง (Balls Still Moving)

    หากผู้เล่นออกคิวไปในขณะที่ยังมีลูกวิ่งอยู่บนโต๊ะ ถือเป็นการทำฟาล์ว

  10. การวางลูกคิวบอลผิดตำแหน่ง (Bad Cue Ball Placement)

    เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกในมือ (Ball in Hand) ที่จะต้องวางลูกคิวบอลหลังเส้นเมือง (Head String) ผู้เล่นจะต้องไม่วางลูกคิวบอล ในตำแหน่งที่เกิน เส้นเมืองออกมา หากผู้เล่นไม่มั่นใจว่าตำแหน่งที่วางลูกไปจะถูกต้องหรือไม่ ผู้เล่นอาจให้ผู้ตัดสินพิจารณาและยืนยันให้ทราบก่อนออกคิวได้

  11. การแทงลูกผิดกติกาจากบริเวณในเมือง (Bad Play from Behind the Head String)

    เมื่อลูกคิวบอลเป็นลูกในมือหลังเส้นเมือง และลูกที่แทงไปโดนเป็นลูกแรกก็เป็นลูกที่อยู่ในเมือง ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว นอกเสียจากว่า ลูกคิวบอลจะวิ่งออกนอกเส้นเมืองไปก่อน แล้วกลับเข้ามาโดนลูกเป้าที่อยู่ในเมือง หากผู้เล่นเจตนาแทงลูกในเมืองโดยตรง ถือเป็นการเล่นที่ไม่สุภาพ ลูกคิวบอลจะต้องข้ามเส้นเมืองออกไปก่อน หรือไปกระทบลูกที่อยู่นอกเมือง หรืออยู่บนเส้นเมือง ก่อนเท่านั้น จึงจะไม่ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว เมื่อเกิดการทำฟาล์วในกรณีนี้ ผู้เล่นคนต่อไปจะได้เล่นลูกจากในมือ ตามกติกาของเกมนั้น ๆ ต่อไป

  12. การวางไม้คิวบนโต๊ะ (Cue Stick on the Table)

    หากผู้เล่นวางไม้คิวลงบนโต๊ะ เพื่อใช้วัดทิศทางของลูกโดยไม้คิวไม่ได้อยู่ในมือ ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว

  13. การแทงผิดเที่ยวแทง (Playing out of Turn)

    การแทงผิดเที่ยวแทง ถือเป็นการทำฟาล์วทั่วไปโดยปรกติแล้ว กติกาจะระบุให้ผู้เล่นคนต่อไป แทงจากตำแหน่งที่ลูกวิ่งไปหยุดอยู่ต่อไปเลย หากผู้เล่นแทงผิดเที่ยวแทงด้วยเจตนา ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct)

  14. การทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง (Three Consecutive Fouls)

    เมื่อผู้เล่นทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ไม้ โดยไม่มีการแทงถูกกติกาเข้ามาคั่น ถือเป็นการทำฟาล์วขั้นรุนแรง ในเกมที่มีการตัดสินกันเป็นเกม (Rack) เช่น พูล 9 ลูก การฟาล์วจะต้องเกิดติดต่อกันภายในเกมด้วย เกมบางเกม เช่น พูล 8 ลูกไม่มีกติกานี้

    ผู้ตัดสินต้องเตือนผู้เล่นเมื่อผู้เล่นทำฟาล์วติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 หากผู้ตัดสินไม่เตือน จะไม่ถือว่าผู้เล่นได้ทำฟาล์วครั้งที่ 3

  15. การเล่นช้า (Slow Play)

    เมื่อผู้ตัดสินเห็นว่า ผู้เล่นใช้เวลามากเกินไปกว่าจะออกคิวได้แต่ละครั้ง ผู้ตัดสินอาจเตือนผู้เล่นให้เล่นเร็วขึ้น หากผู้เล่นยังไม่ยอมเล่นให้เร็วขึ้น ผู้ตัดสินอาจให้มีการกำหนดเวลาในการแทงแต่ละไม้ และจับเวลาด้วยนาฬิกา ซึ่งจะต้องใช้กับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย

    หากผู้เล่นใช้เวลาคิดนานเกินกว่าที่ทางการแข่งขันกำหนด ถือเป็นการทำฟาล์วทั่วไป และผู้เล่นคนต่อไปจะได้เล่นตามกติกาที่แต่ละเกมระบุไว้ (การทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct) อาจนำมาใช้พิจารณาด้วย)

  16. การกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct)

    การปรับฟาล์วและการลงโทษการเล่นในกรณีนี้ โดยทั่วไปถือว่าเป็นการทำฟาล์วขั้นรุนแรง แต่ผู้ตัดสินก็อาจลงโทษด้วยดุลยพินิจตามกฏที่ตั้งไว้ของเกมนั้น ๆ ได้ ผู้ตัดสินอาจตักเตือน ปรับฟาล์ว ซึ่งอาจนำมานับเป็นหนึ่งในสามของการทำฟาล์วที่ต่อเนื่องกันได้ การปรับฟาล์วขั้นรุนแรง อาจหมายถึงการถูกปรับแพ้ในเกมนั้น หรือแพ้ในแมตช์นั้น การถูกถอนสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน ซึ่งจะไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งถ้วยรางวัล หรือแม้แต่คะแนนสะสมด้วย

    การกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportmanlike Conduct) ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียของวงการกีฬา ซึ่งอาจทำให้การแข่งขันต้องหยุดชะงัก และไม่เกิดความยุติธรรมกับผู้เล่นอื่น ๆ ทั้งนี้หมายรวมถึง

    1. การรบกวนสมาธิของคู่แข่งขัน (distracting the opponent)
    2. แอบเคลื่อนย้ายตำแหน่งของลูกบนโต๊ะ (changing the position of the balls in play other than by a shot)
    3. แกล้งทำเป็นแทงผิด (playing a shot by intentionally miscuing)
    4. ยังคงเล่นต่อเมื่อถูกขานฟาล์ว หรือหลังจากที่การแข่งขันถูกระงับไปแล้ว (continuing to play after a foul has been called or play has been suspended)
    5. ซ้อมแทงในระหว่างการแข่งขัน (practicing during a match)
    6. ทำเครื่องหมายใด ๆ บนโต๊ะ (marking the table)
    7. เจตนาถ่วงเวลาในการเล่น (delay of the game)
    8. ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม (using equipment inappropriately)

Refer to:

Monday, August 26, 2013

พลู 9 ลูก (Nine Ball)

พูล 9 ลูก เล่นโดยใช้ลูกหมายเลข 1 ถึงหมายเลข 9 และลูกคิวบอล โดยผู้เล่นจะต้องแทงลูกตามลำดับหมายเลขบนลูกตั้งแต่น้อยไปหามาก ผู้เล่นที่ตบลูก หมายเลข 9 ลงหลุมโดยไม่ทำผิดกติกาถือเป็นผู้ชนะ

  1. การเสี่ยงทายเพื่อหาลำดับในการเล่น(Determining the Break)

    ผู้เล่นที่ชนะการเสี่ยงทายในการขึ้นชิ่งจะเป็นผู้เลือกว่าใครจะเป็นผู้แทงไม้เปิดก่อนตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการขึ้นชิ่งเพื่อจัดลำดับผู้เล่น (Lagging to Determine Order of Play) มาตรฐานของการเล่นทั่วไปคือ การเล่นแบบผลัดกันแทงเปิด

  2. การตั้งลูกในการเปิดเกม (Nine Ball Rack)

    ลูกเป้าจะถูกนำมาตั้งเรียงกันเป็นกลุ่มในรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (Diamond Shape) โดยให้ลูกติดกันให้มากที่สุด ให้ลูกหมายเลข 1 ตั้งอยู่บนตำแหน่ง Foot Spot แล้วให้ลูกหมายเลข 9 อยู่ตรงกึ่งกลางของกลุ่ม ส่วนลูกอื่นๆ ตั้งไว้ในกลุ่มโดยไม่ต้องมีหลักเกณฑ์อะไร

  3. การแทงไม้เปิดที่ถูกกติกา (Legal Break Shot)

    การแทงเปิดจะต้องใช้กฏต่อไปนี้

    1. เล่นลูกคิวบอลจากในมือหลังเส้นเมือง (Head String)
    2. ถ้าไม่มีลูกหนึ่งลูกใดลงหลุม จะต้องมีลูกกระทบชิ่งอย่างน้อย 4 ลูก จึงจะไม่เป็นลูกฟาล์ว
  4. การแทง Push Out(Second Shot of the Rack – Push Out)

    หากไม่มีการทำฟาล์วใด ๆ เกิดขึ้นในไม้เปิด ผู้เล่นสามารถเลือกเล่น Push Out ได้โดยการแจ้งต่อผู้ตัดสินซึ่งจะทำให้การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงผิดลูก (Wrong Ball First) และการทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงลูกไม่ถึงชิ่ง (No Rail after Contact)ไม่มีผลบังคับใช้

    หากไม่มีการทำฟาล์วใด ๆ เกิดขึ้นในการแทง Push Out ใด ๆ ผู้เล่นคนอื่นสามารถเลือกที่จะเล่นเองหรือให้ผู้ที่กำลังเล่นอยู่เล่นต่อไปก็ได้

  5. การต่อเบรค (Continuing Play)

    เมื่อผู้เล่นตบลูกลงหลุมไปโดยไม่ผิดกติกาแล้ว (ยกเว้นในกรณีการแทง Push Out(Second Shot of the Rack – Push Out)) ผู้เล่นสามารถแทงต่อไปได้เรื่อยๆ และเมื่อใดที่แทงลูกหมายเลข 9 ลงไปโดยไม่ผิดกติกา ผู้เล่นนั้นจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น (ยกเว้นในกรณีที่แทง Push Out) เที่ยวแทงจะยุติลงเมื่อผู้เล่นแทงไม่ลง หรือทำฟาล์ว หากไม่มีการทำฟาล์วเกิดขึ้น ผู้เล่นคนต่อไปจะต้องเล่นจากตำแหน่งที่ลูกวิ่งไปหยุดบนโต๊ะ

  6. การนำลูกกลับมาตั้ง (Spotting Balls)

    ในกรณีที่ลูกหมายเลข 9 ลงหลุมไปในไม้ที่มีการทำฟาล์วเกิดขึ้น หรือในไม้ที่เป็นการแทงลูก Push out หรือเป็นการแทงตกจากโต๊ะ จะต้องนำลูกกลับมาตั้งที่จุดสปอตตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการนำลูกกลับมาตั้ง (Spotting Balls) ลูกอื่น ๆ หากลงหลุมไปไม่ต้องนำกลับมาตั้งใหม่

  7. การทำฟาล์ว (Standard Fouls)

    หากผู้เล่นทำฟาล์วเที่ยวแทงจะจบสิ้นลง ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะได้เล่นลูกในมือ (Ball in hand)ซึ่งสามารถนำลูกคิวบอลไปวางที่ตำแหน่งใดก็ได้บนโต๊ะตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการเล่นลูกในมือ (Cue Ball in Hand) การทำฟาล์วทั่วไปของพูล 9 ลูกมีดังนี้

    1. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการเปลี่ยนลูกคิวบอล หรือแทงลูกคิวบอลตกจากโต๊ะ (Cue Ball Scratch or off the Table)
    2. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงผิดลูก (Wrong Ball First) ลูกเป้าที่เล่นจะต้องเป็นลูกที่มีหมายเลขต่ำสุดบนโต๊ะเท่านั้น
    3. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงลูกไม่ถึงชิ่ง (No Rail after Contact)
    4. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงโดยเท้าทั้งสองไม่สัมผัสพื้น (No Foot on Floor)
    5. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงลูกเป้าตกจากโต๊ะ (Ball Driven off the Table) ลูกที่นำกลับมาตั้งมีลูกเดียวคือ ลูกหมายเลข 9
    6. การทำฟาล์ว (Fouls) ของลูกติด (Touched Ball)
    7. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงโดนลูกคิวบอลสองครั้ง (Double Hit/Frozen Balls)
    8. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงไม้ยาว (Push Shot)
    9. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงในขณะที่ลูกยังไม่หยุดนิ่ง (Balls Still Moving)
    10. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการวางลูกคิวบอลผิดตำแหน่ง (Bad Cue Ball Placement)
    11. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการวางไม้คิวบนโต๊ะ (Cue Stick on the Table)
    12. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงผิดเที่ยวแทง (Playing out of Turn)
    13. การทำฟาล์ว (Fouls) ของการเล่นช้า (Slow Play)
  8. การทำฟาล์วขั้นรุนแรง (Serious Fouls)

    สำหรับการทำฟาล์ว (Fouls) ของการทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง (Three Consecutive Fouls) จะทำให้ผู้ทำฟาล์วแพ้ในเกมนั้นทันที

    ส่วนการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct) ผู้ตัดสินจะพิจารณาว่าจะลงโทษด้วยวิธีใด โดยคำนึงถึงลักษณะ ของการกระทำเป็นหลัก

  9. การเล่นในจุดอับ (Stalemate)

    หากมีการเกิดกรณีจุดอับที่ ผู้ตัดสินเห็นว่าเกมไม่มีความคืบหน้า ผู้ตัดสินจะสอบถามผู้เล่นทั้งสอง เพื่อนำลูกกลับไปตั้งแล้วให้ผู้เล่นที่เปิดเกมที่ผ่านมาเปิดเกมเล่นกันใหม่ตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการเล่นในจุดอับ (Stalemate)


Refer to:

กฎและกติกาทั่วไป (General Rules)

กติกาฉบับนี้เป็นกติกาสากลทั่วไปที่สามารถใช้ได้กับกีฬาพูลทุกประเภท ยกเว้นจะมีการกำหนดกติกาพิเศษขึ้นมาในการแข่งขันต่างๆ ตามแต่จะตกลงกัน กติกาของพูล-บิลเลียดฉบับนี้ครอบคลุมกติกาของเกมพูลโดยรวมไม่ได้เจาะจงไปทางด้านข้อมูลของอุปกรณ์ และการจัดการแข่งขัน

กีฬาพูลบิลเลียดเป็นกีฬาที่เล่นบนโต๊ะทีมีผิวเรียบปูด้วยผ้าและมีขอบโต๊ะที่บุไว้ด้วยยางที่สามารถสะท้อนได้ เรียกว่า ชิ่ง ผู้เล่นจะใช้ไม้ (ไม้คิว) แทงลูกคิวบอลเพื่อไปกระทบลูกเป้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ ลูกเป้าลงหลุมที่มีอยู่ 6 หลุมที่อยู่ในตำแหน่งรอบๆ โต๊ะ เกมจะมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกันออกไปว่าลูกใดจะเป็นลูกเป้าที่ถูกกติกาในการที่จะชนะในเกมแข่งขัน

  1. ความรับผิดชอบของผู้เล่น (Player’s Responsibility)

    ผู้เล่นจำเป็นต้องเรียนรู้กฏและกติกาของกีฬาพูลทุกข้อที่จะใช้ในการแข่งขัน โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันให้ทราบ แต่เป็นหน้าที่ของผู้เล่นที่จะต้องศึกษาให้ถี่ถ้วน

  2. การขึ้นชิ่งเพื่อจัดลำดับผู้เล่น (Lagging to Determine Order of Play)

    การเสี่ยงทายด้วยการขึ้นชิ่ง (lag) ถือเป็นการแทงเพื่อหาลำดับในเที่ยวแทงของผู้เล่นก่อนการแข่งขัน ผู้เล่นที่ชนะในการขึ้นชิ่ง มีสิทธิ์เลือกว่าจะให้ผู้เล่นคนใดเล่นก่อน

    ผู้ตัดสินจะวางลูกไว้หลังเส้นเมือง (Head String) ด้านละ 1 ลูกให้ใกล้กับเส้นเมืองมากที่สุด ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องแทงลูกออกไปพร้อมๆ กันให้กระทบชิ่งบนแล้วให้ลูกกลับมาให้ใกล้ชิ่งล่างให้มากกว่าคู่แข่งขัน การขึ้นชิ่งที่ไม่ถูกต้อง และจะถูกปรับแพ้เมื่อ

    1. ลูกคิวบอลที่แทงออกไปวิ่งข้ามเส้นแบ่งข้างโต๊ะ (Long String) เข้าไปยังฝั่งของคู่แข่งขัน
    2. สัมผัสกับชิ่งบนมากกว่า 1 ครั้ง
    3. ลงหลุมหรือตกออกจากโต๊ะ
    4. สัมผัสกับชิ่งทางด้านข้าง
    5. ลูกคิวบอลไปหยุดอยู่ในตำแหน่งมุมของปากหลุม ผ่านจมูกของชิ่งล่าง

    หมายเหตุ: การขึ้นชิ่งจะใช้ไม่ได้ หากมีการทำฟาล์วอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น นอกเหนือจากการทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงในขณะที่ลูกยังไม่หยุดนิ่ง (Balls Still Moving)

    ผู้เล่นจะต้องขึ้นชิ่งใหม่อีกครั้ง เมื่อ

    1. ผู้เล่นแทงลูกออกไปไม่พร้อมกัน และลูกแรกที่แทงออกไปได้กระทบชิ่งบนก่อนผู้เล่นคนที่สองจะได้แทงลูก
    2. ผู้ตัดสินไม่อาจสรุปได้ว่าลูกของผู้เล่นคนใดใกล้ชิ่งล่างมากที่สุด
    3. ผู้เล่นแทงผิดกติกาทั้งคู่
  3. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ของผู้เล่น (Player’s Use of Equipment)

    อุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้เล่นนำมาใช้จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ถูกต้องตามกฏข้อบังคับของ WPA โดยทั่วไปแล้ว ผู้เล่นจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำอุปกรณ์แปลกใหม่ที่ไม่เป็นที่รู้จักเข้ามาใช้ในการแข่งขัน อุปกรณ์ที่ผู้เล่นทั่วไปใช้กันอยู่แล้ว ถือเป็นอุปกรณ์ปรกติที่อนุญาตให้นำมาใช้ได้ หากผู้เล่นไม่แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่นำมาใช้จะผิดกติกาหรือไม่ ผู้เล่นควรให้ทางคณะกรรมการตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าวก่อนการแข่งขันให้เรียบร้อย อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการในกรณีนั้น ๆ ตามการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct)

    1. ไม้คิว (Cue Stick)

      ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนไม้คิวที่ใช้ในระหว่างการแข่งขันได้ เช่น ในการแทงเปิด แทงลูกกระโดด หรือในการแทงทั่วไป ผู้เล่นสามารถใช้ด้ามต่อ (a built-in extender or an add-on extender)ที่ทำให้ไม้คิวยาวขึ้นเพื่อการแทงได้

    2. ชอล์ค (Chalk)

      ผู้เล่นต้องใช้ชอล์คฝนหัวคิว และสามารถนำชอล์คของตนเองมาใช้ได้ ตราบใดที่สีของชอล์คไม่แตกต่างจากผ้าปูโต๊ะมากจนเกินไป

    3. เรสต์ (Mechanical Bridges)

      ผู้เล่นสามารถใช้เรสต์ได้ไม่เกิน 2 อันในการแทง โดยอาจนำมาเองได้หากไม่มีอะไรที่แตกต่างจากเรสต์ทั่วไป

    4. ถุงมือ (Gloves)

      ผู้เล่นอาจใส่ถุงมือเพื่อช่วยในการยึด หรือในการวางสะพานมือได้

    5. แป้งฝุ่น (Powder)

      ผู้เล่นอาจใช้แป้งฝุ่นช่วยในการเดินคิวได้หากใช้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ตัดสิน

  4. การนำลูกกลับมาตั้ง (Spotting Balls)

    ลูกที่จะต้องถูกนำกลับมาตั้งจะนำมาตั้งลงบนเส้นแบ่งข้างของโต๊ะ (Long String) โดยให้อยู่ใกล้จุดสปอต (Foot Spot) มากที่สุดเหลื่อมไปทางชิ่งบน โดยต้องไม่ทำให้มีลูกอื่นลูกใดบนโต๊ะขยับ หากลูกไม่สามารถตั้งบน Foot Spot ได้ ให้นำลูกไปวางในตำแหน่งที่กล่าวมาแล้ว โดยอาจสัมผัสกับลูกอื่นได้ แต่ต้องไม่ทำให้เคลื่อนไหว และต้องไม่สัมผัสกับลูกคิวบอล หาก ลูกคิวบอลอยู่ในพื้นที่ที่กีดขวางตำแหน่งของลูกที่ตั้งอยู่ หากไม่มีตำแหน่งว่างให้ตั้งเหลื่อมมาทางชื่งบนได้ ให้นำลูกไปตั้งในทิศทางตรงข้ามของจุด Foot Spot โดยให้อยู่ในแนวเส้นตรงใกล้กับจุด Foot spot ให้มากที่สุด

  5. การเล่นลูกในมือ (Cue Ball in Hand)

    เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกจากในมือ (Ball in hand) ผู้เล่นสามารถวางลูกคิวบอลลงบนตำแหน่งใดบนโต๊ะก็ได้ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของส่วนต่างๆ ของโต๊ะ (Parts of the Table) และยังคงสามารถขยับตำแหน่งใหม่ได้จนกว่าจะมีการแทงออกไปตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของการแทง (Shot) ผู้เล่นอาจใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของไม้คิวในการขยับตำแหน่งของ ลูกคิวบอลได้ แม้กระทั่งหัวคิว แต่ไม่ใช่ในลักษณะการดันออกไปข้างหน้าด้วยหัวคิว ในการแทงเปิดของเกมบางเกม ตำแหน่งของลูกคิวบอลจะถูกกำหนดให้อยู่ในพื้นที่หลังเส้นเมือง (Head String) โดยขึ้นอยู่กับกติกาของเกมนั้นๆ และให้นำการทำฟาล์ว (Fouls) ของการวางลูกคิวบอลผิดตำแหน่ง (Bad Cue Ball Placement) และการทำฟาล์ว (Fouls) ของการแทงลูกผิดกติกาจากบริเวณในเมือง (Bad Play from Behind the Head String)มาใช้ด้วย

    เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกในมือหลังเส้นในเมือง และลูกเป้าทั้งหมดวางอยู่หลังเส้นเมือง ผู้เล่นสามารถขอให้ผู้ตัดสินนำลูกเป้าที่อยู่ใกล้เส้นเมืองมากที่สุดมาตั้งใหม่ที่จุดได้ หากมีมากกว่า 1 ลูกที่มีระยะห่างจากเส้นเมืองเท่าๆ กัน ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะให้นำลูกใดไปตั้งลูกเป้าที่อยู่บนเส้นเมืองพอดี ถือเป็นลูกที่สามารถเล่นได้

  6. มาตรฐานการขานลูกและหลุม (Standard Call Shot)

    ในเกมที่ผู้เล่นต้องมีการขานลูกและหลุมก่อนการแทง ผู้เล่นจะต้องระบุลูกและหลุมที่จะเล่นก่อนการแทงทุกครั้ง ยกเว้นลูกที่มีความชัดเจน รวมทั้งเส้นทางในการแทงและขั้นตอนในการแทงด้วย ว่าจะเข้าชิ่งก่อน หรือไปโดนลูกอื่นแล้วทำให้ลงหลุมไปหรือไม่ ผู้เล่นสามารถระบุลูกที่จะตบได้เพียง 1 ลูก ผู้ตัดสินจะพิจารณาว่าลูกที่ผู้เล่นแทงลงไปเป็นลูกที่ก้ำกึ่งหรือชัดเจน ผู้เล่นจะต้องระบุให้ทราบก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะลูกที่ต้องเกี่ยวข้องกับการกระทบชิ่ง หรือสัมผัสกับลูกอื่นก่อนลงหลุม หากผู้ตัดสินไม่แน่ใจว่าผู้เล่นจะเล่นอย่างไร ผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะสอบถามได้

    ในเกมที่ต้องมีการขานหลุม ผู้เล่นสามารถเล่นลูก Safety โดยการขานคำว่า Safety ก่อน ซึ่งจะทำให้เที่ยวแทงของผู้เล่นยุติลงหลังจากแทงออกไป ลูกที่ถูกตบลงหลุมไปจะนำกลับมาตั้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกติกาของเกมนั้นๆ

  7. การหยุดของลูกหลังเที่ยวแทง (Balls Settling)

    ในกรณีที่ลูกมีการขยับเล็กน้อยหลังจากที่หยุดแล้ว ซึ่งอาจจะเกิดจากรอยบนผ้าหรือพื้นผิวของโต๊ะที่ไม่เรียบ ให้ถือว่าการเคลื่อนไหวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแทง ยกเว้นหากการเคลื่อนไหวนั้นทำให้ลูกเกิดตกหลุมลงไป ให้ผู้ตัดสินนำลูกกลับมาตั้งใหม่ให้ใกล้กับตำแหน่งเดิมให้มากที่สุด หากลูกเป้าตกหลุมไปเองในระหว่างที่ลูกคิวบอลได้ถูกแทงออกไปแล้ว ซึ่งทำให้มีผลต่อการแทงในไม้นั้น ผู้ตัดสินจะต้องนำลูกทั้งหมดกลับมาตั้ง แล้วให้ผู้เล่นแทงใหม่อีกครั้ง ไม่ถือเป็นการแทงของผู้เล่นในกรณีนี้ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของลูกลงหลุม (Ball Pocketed)

  8. การนำลูกกลับมาตั้ง (Restoring a Position)

    เมื่อใดก็ตามที่ผู้ตัดสินจำเป็นต้องนำลูกกลับมาตั้ง หรือทำความสะอาด ผู้ตัดสินจะต้องนำลูกกลับไปตั้งในตำแหน่งที่เหมือนเดิมมากที่สุด และผู้เล่นต้องยอมรับในดุลยพินิจของ ผู้ตัดสินในตำแหน่งที่นำกลับไปตั้งใหม่นั้นๆ

  9. การรบกวนจากภายนอก (Outside Interference)

    หากเกิดมีการรบกวนใดๆ ขึ้นที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับผู้เล่น แต่มีผลในเที่ยวแทงนั้นๆ ผู้ตัดสินจะนำลูกกลับมาตั้งที่จุดเดิมให้ใกล้เคียงที่สุด แล้วให้ผู้เล่นแทงใหม่อีกครั้ง หากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้รบกวนหรือเกี่ยวข้องกับการเล่น ผู้ตัดสินจะขยับลูกที่ถูกรบกวนกลับไปยังตำแหน่งเดิม แล้วให้ผู้เล่นเล่นต่อไป หากลูกที่ถูกรบกวนมีปัญหาไม่สามารถนำกลับไปตั้งใหม่ได้ ผู้ตัดสินอาจตกลงกับคู่แข่งขัน ให้เริ่มเล่นเกมนั้นใหม่อีกครั้ง

  10. การโต้แย้งในกติกาหรือการตัดสิน (Prompting Calls and Protesting Rulings)

    หากผู้เล่นมีความข้องใจว่า ผู้ตัดสินทำการตัดสินผิดพลาด ผู้เล่นอาจทักท้วงเพื่อให้ผู้ตัดสินพิจารณาการตัดสินใหม่ให้ถูกต้อง และหาก ผู้ตัดสินยังยืนยันการตัดสินนั้น ให้ถือเป็นเด็ดขาด และหากผู้เล่นยังเห็นว่า ผู้ตัดสินยังมีความผิดพลาดอยู่ ผู้เล่นอาจเรียกร้องให้คณะกรรมการจัดการแข่งขันเข้ามาช่วยคลี่คลายข้อกังขาได้ ผู้ตัดสินจะหยุดการแข่งขันไว้ระยะหนึ่งในขณะที่มีการตรวจสอบกติกาและคำตัดสินนั้น ๆ ตามข้อ d ในการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct) การทำฟาล์วจะต้องมีการขาฟาล์วในทันทีตามการทำฟาล์ว (Fouls)

  11. การยอมแพ้ (Concession)

    หากผู้เล่นยอมแพ้ ถือว่าผู้เล่นแพ้ในแมตช์นั้น เช่น ถ้าผู้เล่นถอดไม้คิวออกจากกันในขณะที่คู่แข่งขันเล่นอยู่ที่โต๊ะ ในขณะที่การแข่งขันอยู่ในช่วงที่กำลังจะมีการแพ้-ชนะ การกระทำเช่นนี้ถือว่าผู้เล่นต้องการยอมแพ้แล้ว ถือว่าเกมการแข่งขันจบสิ้นลงทันที

  12. การเล่นในจุดอับ (Stalemate)

    เมื่อผู้ตัดสินเห็นว่า ตำแหน่งของลูกบนโต๊ะอยู่ในตำแหน่งจุดอับที่ไม่มีผู้เล่นผู้หนึ่งใดยอมเปลี่ยนการเล่น และทำให้เกมยืดเยื้อ ผู้ตัดสินจะให้โอกาสผู้เล่นอีกคนละ 3 ครั้ง หากสถานการณ์ยังเหมือนเดิม ผู้ตัดสินจะสอบถามผู้เล่นทั้งคู่ ว่ายินยอมให้ตั้งลูกเล่นใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ อาจทำได้โดยไม่ต้องแทงอีกคนละ 3 ไม้ กติกาในข้อนี้มีระบุไว้ในเกมพูลแต่ละเกมด้วย


Refer to:

คำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules)

คำจำกัดความต่อไปนี้ สามารถใช้ได้กับกีฬาพูลทุกประเภท

  1. ส่วนต่างๆ ของโต๊ะ (Parts of the Table)


    คำจำกัดความต่อไปนี้ คือคำที่ใช้เรียกส่วนประกอบต่างๆ ของโต๊ะพูล รายละเอียดเกี่ยวกับขนาดต่างๆ จะระบุไว้ใน คู่มืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันของ WPA และสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.wpa-pool.com

    โต๊ะพูล ประกอบด้วยขอบโต๊ะ ชิ่ง พื้นผิวโต๊ะ และหลุมต่างๆ โดย Foot End ของโต๊ะ จะเป็นด้านที่ตั้งลูกเป้า (object balls) ส่วน Head End จะเป็นด้านที่แทงลูกคิวบอลออกไป

    พื้นที่หลังเส้นเมือง คือพื้นที่ระหว่าง เส้นเมือง (head string) กับ ชิ่งล่าง (Head Rail) โดยไม่รวมเนื้อที่บน เส้นเมือง

    ชิ่ง (cushions) ด้านบนของขอบชิ่ง (top of the rails) หลุม (pocket) และโค้งหลุม (pocket liners) รวมเป็นส่วนหนึ่งของ ขอบโต๊ะ (rails)

      บนพื้นโต๊ะประกอบด้วยเส้น 4 เส้นดังนี้
    • เส้น Long String เป็นเส้นตรงที่ผ่ากลางโต๊ะในแนวตั้ง
    • เส้น Head String คือ เส้นเมือง แบ่ง 1 ใน 4 ของโต๊ะ ด้านในเมือง
    • เส้น Foot String เป็นเส้นที่แบ่ง 1 ใน 4 ของโต๊ะด้านตรงข้าม
    • เส้น Center String เป็นเส้นที่แบ่งครึ่งของโต๊ะในแนวขวาง จากกึ่งกลางของหลุมกลาง 2 หลุมลากเข้าหากัน

    บนขอบโต๊ะ จะมีการกำหนดตำแหน่งของจุดแบ่งของโต๊ะ เรียกว่า จุด Diamonds or Sights โดยแบ่งโต๊ะออกเป็น 1 ใน 4 ของด้านกว้าง และ 1 ใน 8 ของด้านยาว วัดจากจมูกหลุมด้านหนึ่งไปหาอีกด้านหนึ่ง

    • Foot Spot : ตรงจุดตัดของเส้น Foot String กับเส้น Long String
    • Head Spot : ตรงจุดตัดของเส้น Head String กับเส้น Long String
    • Center Spot : ตรงจุดตัดของเส้น Center String กับเส้น Long String
    • Triangle : อาจจะมีการตีเส้นเป็นรูปสามเหลี่ยม หรืออาจมีเพียงมุมทั้ง 3 ด้าน เพื่อเป็นตำแหน่งที่จะต้องตั้งลูก ตามแต่เกมต่างๆ จะกำหนด
  2. การแทง (Shot)

    การแทงเริ่มนับทันทีที่หัวคิวกระทบลูกคิวบอลออกไปด้านหน้า การแทงจะสิ้นสุดลงเมื่อลูกทุกลูกหยุดหมุน หรือเคลื่อนไหว การแทงจะถือว่าไม่ผิดกติกา หากไม่มีการทำฟาล์วเกิดขึ้น

  3. ลูกลงหลุม (Ball Pocketed)

    ลูกที่ถูกแทงลงหลุมไปจะหล่นลงไปในหลุม หรือช่องเก็บลูก อาจผ่านทางระบบที่ทำไว้ให้ลูกที่ลงหลุมไปรวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ลูกที่ค้างอยู่บนปากหลุมที่ไม่ลงเพราะมีลูกอื่นดันเอาไว้ ถือเป็นลูกที่ลงหลุมถ้านำลูกบอลที่ดันออกไปทำให้ลูกบอลลูกนั้นลงหล่นลงหลุม

    หากลูกหยุดอยู่ที่ใหล้ปากหลุมเกิน 5 วินาที แล้วหล่นลงไปเอง ไม่ถือว่าเป็นลูกที่ลงหลุมตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการหยุดของลูกหลังเที่ยวแทง (Balls Settling) ในระหว่างช่วงเวลา 5 วินาทีดังกล่าว ผู้ตัดสินควรดูให้ดีว่าจะยังไม่มีการแทงไม้ต่อไปเกิดขึ้น

    ลูกที่กระดอนกลับออกมาจากหลุมขึ้นมาอยู่บนโต๊ะ ถือเป็นลูกที่ไม่ลงหลุม

    หากลูกคิวบอลไปกระทบลูกที่ลงหลุมไปแล้ว (แต่ล้นปากหลุมออกมา) ถือว่าลูกคิวบอล ได้ลงหลุมไปแล้ว โดยไม่คำนึงว่าลูกจะกระดอนกลับมาอยู่บนโต๊ะอีกหรือไม่ ผู้ตัดสินจะช่วยนำลูกที่ล้นหลุมออกจากหลุม แต่เป็นความรับผิดชอบที่ผู้เล่นจะต้องตรวจเช็คเอง เพื่อป้องกันความผิดพลาด

  4. การแทงให้โดนชิ่ง (Driven to a Rail)

    การแทงลูกให้โดนชิ่ง หมายถึง การแทงให้ลูกที่ไม่ติดอยู่กับชิ่งวิ่งไปให้กระทบชิ่ง ลูกที่ติดกับชิ่งอยู่แล้วก่อน (frozen to the rail) การแทง ไม่ถือว่าเป็นลูกกระทบชิ่ง จนกว่าจะถูกแทงออกไปแล้ววิ่งไปกระทบชิ่งใหม่อีกครั้ง ลูกที่ถูกตบลงหลุม หรือกระเด็นออกจากโต๊ะ ถือว่าเป็นลูกที่ถึงชิ่งแล้ว ลูกที่อยู่ติดชิ่งจะไม่ถือว่าเป็นลูกติดชิ่ง จนกว่า ผู้ตัดสิน (referee) ผู้เล่น (shooter) หรือคู่แข่งขัน (opponent) จะขานว่าเป็นลูกที่ติดชิ่ง

  5. ลูกตกโต๊ะ (Driven off the Table)

    ลูกที่กระเด็นตกจากโต๊ะ หมายถึง ลูกที่ไม่หยุดอยู่บนพื้นผิวของโต๊ะที่ใช้ในการเล่น โดยไม่ถูกตบลงหลุมไป และลูกที่กระเด็นไปโดนวัตถุอื่นๆ นอกโต๊ะ เช่น โป๊ะไฟ ชอล์คฝนหัวคิว หรือร่างกายของผู้เล่น ถือว่าเป็นลูกตกโต๊ะเช่นกันแม้ว่าจะกระเด็นกลับมาอยู่บนโต๊ะก็ตาม

    ลูกที่วิ่งขึ้นไปบนขอบชิ่งแล้วตกกลับลงมาบนโต๊ะ หรือวิ่งลงหลุมไป ไม่ถือว่าเป็นลูกตกโต๊ะ

  6. แทงเปลี่ยน (Scratch)

    การแทงให้ลูกคิวบอลวิ่งลงหลุมไปเรียกว่า เป็นการแทงเปลี่ยน (Scratch)

  7. ลูกคิวบอล (Cue Ball)

    ลูกคิวบอล คือ ลูกที่ใช้ในการแทงโดยไม้คิวจากผู้เล่น โดยส่วนใหญ่จะมีสีขาว และอาจจะมีจุดหรือโลโก้แสดงอยู่บนลูกได้ ในการเล่น Pocket Billiards ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะใช้ลูกคิวบอลลูกเดียวกัน

  8. ลูกเป้า (Object Balls)

    ลูกเป้า คือ ลูกที่ผู้เล่นแทงลูกคิวบอลไปกระทบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ลูกเป้านั้นวิ่งไปลงหลุม โดยปรกติจะมีหมายเลขระบุไว้บนลูกตั้งแต่หมายเลข 1 ไปจนถึงหมายเลขที่ต้องใช้ในการเล่นเกมนั้นๆ สีและรายละเอียดของลูกเป้า ระบุไว้ในคู่มืออุปกรณ์การแข่งขันของ WPA (WPA Equipment Specifications)

  9. การเล่นเป็นเซ็ท (Set)

    ในการแข่งขันบางประเภท จะมีการแบ่งการเล่นออกเป็น เซ็ท โดยผู้ที่ชนะใน แมตช์ นั้นๆ จะต้องทำจำนวนเซ็ทให้ได้ตามที่กำหนด การแบ่งเซ็ททำได้ด้วยการระบุจำนวนคะแนน (points) และจำนวนเกม (racks) สำหรับชัยชนะในแต่ละเซ็ท

  10. แร็ค (Rack)

    แร็ค คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตั้งลูกเพื่อใช้ในการแทงเปิดของแต่ละเกม โดยทั่วไปจะเป็นทรงสามเหลี่ยม

    การแร็คลูก หมายถึงการตั้งลูกโดยใช้แร็ค

    นอกจากนี้คำว่า แร็ค ยังหมายถึง การเล่นส่วนหนึ่งของแมตช์การแข่งขันด้วย ในเกมบางเกม เช่น พูล 9 ลูก 1 เกม มีความหมายเท่ากับ 1 แร็ค นั่นเอง

  11. เบรค (Break)

  12. การเบรค หมายถึง การแทงในไม้เปิดของแต่ละเกม หรือแร็ค ขึ้นอยู่กับประเภทของเกมนั้นๆ การแทงเปิดจะเกิดขึ้นเมื่อลูกเป้ามีการนำไปตั้งรวมกลุ่มกัน เพื่อเริ่มเกมใหม่ แล้วให้ผู้เล่นแทงลูกคิวบอลออกไปจากหลังเส้นเมืองโดยมีจุดประสงค์ในการแทงลูกกลุ่มให้แตกออกมา

  13. เที่ยวแทง (Inning)

    Inning หรือเที่ยวแทงที่ผู้เล่นสลับกันออกมาแทง Inning จะเริ่มขึ้นเมื่อผู้เล่นถึงเที่ยวแทงที่จะออกมาแทงได้ตามกติกา และจบลงเมื่อผู้เล่นหมดสิทธิ์ที่จะได้เล่นต่อในเที่ยวแทงนั้นแล้ว ในเกมบางประเภท ผู้เล่นอาจปฏิเสธเที่ยวแทงของตนได้ โดยให้ผู้เล่นอีกฝ่ายเล่นต่อไป (เช่น ในกรณีการเล่น “Push out” ในพูล 9 ลูก) ผู้เล่นที่ถึงเที่ยวแทงจะเรียกว่า Shooter

  14. ตำแหน่งของลูก (Position of Balls)

    การตั้งตำแหน่งของลูก กำหนดให้วัดจากจุดกึ่งกลางของลูกในแนวตั้งลงมายังพื้นผิวของโต๊ะ ลูกที่ระบุว่าอยู่บนเส้นหรือจุด หมายถึง จุดกึ่งกลางของลูกในแนวตั้งอยู่ตรงกับเส้น หรือจุดนั้นพอดี

  15. ลูกที่นำกลับมาตั้งใหม่ (Re-spotting Balls)

    ในเกมบางประเภท อาจจะต้องมีการนำลูกเป้ากลับมาตั้งบนโต๊ะ นอกเหนือจากการนำลูกทั้งหมดกลับมาตั้งใหม่ เรียกว่า การตั้งลูกที่จุด ตามกฎและกติกาทั่วไป (General Rules) ของการนำลูกกลับมาตั้ง (Spotting Balls)

  16. นำลูกกลับมาตั้งที่ตำแหน่งเดิม (Restoring a Position)

    หากลูกบอลมีการถูกทำให้เคลื่อนไหวนอกเหนือจากการแทงตามปรกติ กติกาอาจระบุให้นำลูกกลับมาตั้งยังจุดเดิมก่อนมีการเคลื่อนไหว โดยผู้ตัดสินจะต้องพยายามตั้งลูกให้ใกล้เคียงตำแหน่งเดิมให้มากที่สุด

  17. การแทงลูกกระโดด (Jump Shot)

    การแทงลูกกระโดด หมายถึง การแทงที่ทำให้ ลูกคิวบอลมีการกระโดดข้ามลูกที่กีดขวางอยู่ ซึ่งอาจเป็นลูกเป้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของชิ่ง การแทงจะถูกกติกาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจตนา วัตถุประสงค์ของผู้เล่น และผลที่ออกมา โดยปรกติ การแทงลูกกระโดดจะแทงโดยการยกไม้คิวขึ้นสูงแล้วแทงใต้ลูกคิวบอลเพื่อให้งัดลูกคิวบอลกระดอนขึ้นไป

  18. การแทงลูกป้องกัน (Safety Shot)

    ในเกมที่ต้องมีการขานลูกและหลุม ผู้เล่นอาจทำการขานวิธีการเล่นเพื่อเป็นการป้องกันได้ ด้วยการขานคำว่า Safety ก่อนการออกคิวในไม้นั้นๆ ซึ่งมีผลทำให้เที่ยวแทงของผู้เล่นจะสิ้นสุดลงหลังจากที่ได้แทงไม้นั้นออกไป

  19. แทงแป็ก (Miscue)

    Miscue หรือ การแทงแป็กเกิดขึ้นจากการที่หัวคิวแทงมีการสไลด์ออกไปด้านข้างของลูกคิวบอลที่อาจเกิดจากการแทงไซด์ หรือผู้เล่นอาจฝนหัวคิวไม่ดีพอ ส่วนใหญ่จะมีเสียงดังแปลกๆ และหัวคิวอาจเสียหายได้ บางครั้ง การแทงแป็กอาจเป็นการแทงที่เกิดจากการสัมผัสของไม้คิวด้านข้าง ซึ่งหากไม่เห็นอย่างชัดเจน อาจไม่รู้ว่ามีการแทงแป็กเกิดขึ้น การแทงงัด ที่แทงให้หิวคิวแทงโดนผ้าปูโต๊ะและลูกคิวบอลในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ลูกคิวบอลกระเด็นลอยขึ้นจากผ้าปูโต๊ะได้ ถือว่าเป็นการแทงแป็กเช่นกัน


Refer to:

Tuesday, August 6, 2013

นาน ๆ นะ ๆ

Intro: /E/C#m/F#m/B/E/C#m/F#m/B/

        F#m      B           F#m            B
คิดไม่ถึงว่าจะได้เจอ เธอกับฉันแค่เพียงสองคน
         F#m         B                  E
เหมือนโชคชะตาเล่นกล ให้เรามาพบกัน
    F#m       B           F#m     B
ในวันที่คิดถึงเธอ แล้วเธอนั้นก็คิดถึงกัน
     F#m     B                   E
ใจเธอกับฉันตรงกัน ในวันที่บังเอิญ

                      F#m         G#m
        *ลมอะไรที่พัดพาเธอมาเจอฉัน
                       G#            C#m
         วอนลมนั้นอย่า พึ่งพัดเธอผ่านไป
                  F#m                            A         B
         หากว่าเธอไม่รีบร้อน ก็อยู่กับฉันก่อนจะได้ไหม

                 E                             C#m
**อยู่กับฉันนานๆนะๆ อย่าเพิ่งรีบไปเลยนะๆ
           F#m                    B
ใจฉันยังไม่มีธุระ ยังว่างๆอยู่นะเธอ
              E                        C#m
อยู่กับฉันนานๆนะๆ สบตาฉันนานๆนะๆ
            F#m                              B                 (E)
หากใจเธอไม่มีธุระ ก็เดินเคียงกันข้างกันตลอดไป นะๆเธอ

Solo: /E/C#m/F#m/B/ 

                  F#m       B             F#m         B
         หากวันนี้เราต้องรำลา แล้ววันหน้าเราคิดถึงกัน
             F#m          B                E
         หากใจเราว่างตรงกัน ก็นัดพบกันใหม่

(* , **)

Solo: /E/C#m/F#m/B/E/C#m/F#m/B/

(* , ** , **)

Solo: /E/C#m/F#m/B/E/C#m/F#m/B/E/