หน้าเว็บ

Tuesday, August 27, 2013

การทำฟาล์ว (Fouls)

การทำฟาล์วในกีฬาพูลที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการทำฟาล์วทั่วไปที่สามารถใช้ได้กับกีฬาพูลเกือบทุกประเภท ซึ่งจะมียกเว้นในบางข้อสำหรับพูล บางประเภทซึ่งได้ระบุไว้ในกติกาของประเภทนั้นๆ ไว้แล้ว หากมีการทำฟาล์วมากกว่า 1 ประเภทเกิดขึ้นใน 1 เที่ยวแทง ให้นับเป็การฟาล์วเพียง 1 ครั้งและผู้เล่นจะถูกปรับฟาล์วในประเภทที่รุนแรงที่สุด

หากไม่มีการขานฟาล์วจนผู้เล่นได้แทงในไม้ต่อไปแล้ว การฟาล์วนั้นให้ถือว่าเป็นโมฆะ

  1. การเปลี่ยนลูกคิวบอล หรือแทงลูกคิวบอลตกจากโต๊ะ (Cue Ball Scratch or off the Table)

    หากผู้เล่นแทงเปลี่ยน หรือแทงลูกคิวบอลตกจากโต๊ะ ถือเป็นการทำฟาล์ว ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของลูกลงหลุม (Ball Pocketed) และคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของลูกตกโต๊ะ (Driven off the Table)

  2. การแทงผิดลูก (Wrong Ball First)

    ในเกมที่มีกติการะบุให้ผู้เล่นต้องแทงลูกเป้าตามหมายเลข หรือตามกลุ่มของลูก หากผู้เล่นแทงไม่ถูกลูกที่บังคับให้เล่นเป็นลูกแรก ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว

  3. การแทงลูกไม่ถึงชิ่ง (No Rail after Contact)

    ถ้าไม่มีการตบลูกใด ๆ ลงหลุมแล้วลูกคิวบอลจะต้องแทงให้ถูกลูกเป้า และจะต้องมีลูกใดลูกหนึ่ง (ลูกคิวบอล หรือลูกใดก็ได้) วิ่งไปกระทบชิ่ง หากไม่มีลูกใดวิ่งไปกระทบชิ่ง ถือว่าเป็นการฟาล์ว ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของการแทงให้โดนชิ่ง (Driven to a Rail)

  4. การแทงโดยเท้าทั้งสองไม่สัมผัสพื้น (No Foot on Floor)

    เมื่อหัวคิวกระทบลูกคิวบอลในการแทงแต่ละครั้ง เท้าของผู้เล่นอย่างน้อย 1 ข้างจะต้องสัมผัสพื้น หากเท้าพ้นจากพื้นทั้งสองข้าง ถือว่าเป็นการฟาล์ว

  5. การแทงลูกเป้าตกจากโต๊ะ (Ball Driven off the Table)

    หากผู้เล่นแทงลูกเป้ากระเด็นตกจากโต๊ะ ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว ลูกที่ตกจากโต๊ะไปจะนำกลับมาตั้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของเกม กติกา ว่าลูกที่ตกไปเป็นลูกใด ตามคำจำกัดความ (Definitions Used in the Rules) ของลูกตกโต๊ะ (Driven off the Table)

  6. ลูกติด (Touched Ball)

    การทำให้ลูกใด ๆ บนโต๊ะเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนทิศทางการเดินของลูกโดยไม่ได้มาจากการแทงอย่างถูกกติกา ถือเป็นการทำฟาล์ว การไปแตะต้อง โยกย้าย หรือทำให้ลูกเคลื่อนไหวโดยไม่ได้มาจากการแทงด้วยหัวคิว หรือไม่ได้มาจากการได้เล่นลูกในมือ (Ball in Hand) ถือว่าเป็นการทำฟาล์วทั้งหมด ผู้เล่นจะต้องรับผิดชอบในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ให้ไปแตะต้องลูกใดๆ บนโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นชอล์ค ไม้เรสต์ต่าง ๆ เสื้อผ้า เส้นผม หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ขณะที่ลูกคิวบอลอยู่ในมือ (in hand) ก็สามารถกระทำการฟาล์วได้ หากการทำฟาล์วนั้นเป็นการเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา ก็ถือว่าเป็นการทำฟาล์วทั่วไป หากเจตนา จะถือเป็นตามการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct)

  7. การแทงโดนลูกคิวบอลสองครั้ง (Double Hit/Frozen Balls)

    ถ้าหัวคิวกระทบลูกคิวบอล 2 ครั้งติด ๆ กันในการออกคิวแล้วถือเป็นการทำฟาล์ว

    ถ้าลูกคิวบอลอยู่ใกล้จนเกือบติดกับลูกเป้า และหัวคิวยังไม่พ้นจากลูกคิวบอลในขณะที่ลูกคิวบอลสัมผัสกับลูกเป้าแล้วถือว่าเป็นการทำฟาล์ว

    ถ้าลูกคิวบอลอยู่เกือบติดกับลูกเป้า และผู้เล่นแทงให้ลูกคิวบอลสัมผัสลูกเป้ามีไม่ครูด หรือครูดน้อยมากแล้วถือว่าการแทงนั้นไม่ได้ผิดกติกาในย่อหน้าสอง ถึงแม้ว่าหัวคิวอาจจะยังอยู่บนลูกคิวบอล เมื่อมีการสัมผัสกับลูกเป้าเกิดขึ้นก็ตาม

    อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกคิวบอลติดอยู่กับลูกเป้า ผู้เล่นสามารถแทงเข้าไปหาลูกเป้า หรือให้โดนลูกเป้าอย่างแผ่วเบาได้ (ลูกเป้าเป็นลูกที่อยู่ในเที่ยวแทงของเกมนั้น) และเมื่อลูกเป้ามีการเคลื่อนไหว ถือว่าได้มีการแทงโดนลูกเป้านั้นแล้ว (ถึงแม้ว่ากติกาจะอนุญาตให้ผู้เล่นแทงลูกคิวบอลเข้าไปหาลูกเป้าที่อยู่ติดกันได้ ผู้เล่นก็ยังต้องระมัดระวังในการทำฟาล์วกรณีที่กล่าวไว้ในย่อหน้าสองที่อาจเกิดขึ้นกับลูกอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้)

    ลูกคิวบอลจะไม่ถือว่าเป็นลูกที่ติดกับลูกเป้าจนกว่า ผู้ตัดสินจะขานว่าเป็น ลูกติด (Touching) หรือจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนแล้วเท่านั้น ผู้แทงจะต้องให้ผู้ตัดสิน หรือคู่แข่งขันรับทราบ และยืนยันว่าเป็นลูกติด ก่อนจะแทงออกไป การแทงออกไปจากลูกติดไม่ถือว่าเป็นการแทงถูกลูกนอกจากจะได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษเฉพาะบางเกมเท่านั้น

  8. การแทงไม้ยาว (Push Shot)

    หากผู้เล่นแทงโดยให้หิวคิวลากไปกับลูกคิวบอล ถือว่าเป็นการทำฟาล์วด้วยการแทงไม้ยาว

  9. การแทงในขณะที่ลูกยังไม่หยุดนิ่ง (Balls Still Moving)

    หากผู้เล่นออกคิวไปในขณะที่ยังมีลูกวิ่งอยู่บนโต๊ะ ถือเป็นการทำฟาล์ว

  10. การวางลูกคิวบอลผิดตำแหน่ง (Bad Cue Ball Placement)

    เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกในมือ (Ball in Hand) ที่จะต้องวางลูกคิวบอลหลังเส้นเมือง (Head String) ผู้เล่นจะต้องไม่วางลูกคิวบอล ในตำแหน่งที่เกิน เส้นเมืองออกมา หากผู้เล่นไม่มั่นใจว่าตำแหน่งที่วางลูกไปจะถูกต้องหรือไม่ ผู้เล่นอาจให้ผู้ตัดสินพิจารณาและยืนยันให้ทราบก่อนออกคิวได้

  11. การแทงลูกผิดกติกาจากบริเวณในเมือง (Bad Play from Behind the Head String)

    เมื่อลูกคิวบอลเป็นลูกในมือหลังเส้นเมือง และลูกที่แทงไปโดนเป็นลูกแรกก็เป็นลูกที่อยู่ในเมือง ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว นอกเสียจากว่า ลูกคิวบอลจะวิ่งออกนอกเส้นเมืองไปก่อน แล้วกลับเข้ามาโดนลูกเป้าที่อยู่ในเมือง หากผู้เล่นเจตนาแทงลูกในเมืองโดยตรง ถือเป็นการเล่นที่ไม่สุภาพ ลูกคิวบอลจะต้องข้ามเส้นเมืองออกไปก่อน หรือไปกระทบลูกที่อยู่นอกเมือง หรืออยู่บนเส้นเมือง ก่อนเท่านั้น จึงจะไม่ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว เมื่อเกิดการทำฟาล์วในกรณีนี้ ผู้เล่นคนต่อไปจะได้เล่นลูกจากในมือ ตามกติกาของเกมนั้น ๆ ต่อไป

  12. การวางไม้คิวบนโต๊ะ (Cue Stick on the Table)

    หากผู้เล่นวางไม้คิวลงบนโต๊ะ เพื่อใช้วัดทิศทางของลูกโดยไม้คิวไม่ได้อยู่ในมือ ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว

  13. การแทงผิดเที่ยวแทง (Playing out of Turn)

    การแทงผิดเที่ยวแทง ถือเป็นการทำฟาล์วทั่วไปโดยปรกติแล้ว กติกาจะระบุให้ผู้เล่นคนต่อไป แทงจากตำแหน่งที่ลูกวิ่งไปหยุดอยู่ต่อไปเลย หากผู้เล่นแทงผิดเที่ยวแทงด้วยเจตนา ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct)

  14. การทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง (Three Consecutive Fouls)

    เมื่อผู้เล่นทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ไม้ โดยไม่มีการแทงถูกกติกาเข้ามาคั่น ถือเป็นการทำฟาล์วขั้นรุนแรง ในเกมที่มีการตัดสินกันเป็นเกม (Rack) เช่น พูล 9 ลูก การฟาล์วจะต้องเกิดติดต่อกันภายในเกมด้วย เกมบางเกม เช่น พูล 8 ลูกไม่มีกติกานี้

    ผู้ตัดสินต้องเตือนผู้เล่นเมื่อผู้เล่นทำฟาล์วติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 หากผู้ตัดสินไม่เตือน จะไม่ถือว่าผู้เล่นได้ทำฟาล์วครั้งที่ 3

  15. การเล่นช้า (Slow Play)

    เมื่อผู้ตัดสินเห็นว่า ผู้เล่นใช้เวลามากเกินไปกว่าจะออกคิวได้แต่ละครั้ง ผู้ตัดสินอาจเตือนผู้เล่นให้เล่นเร็วขึ้น หากผู้เล่นยังไม่ยอมเล่นให้เร็วขึ้น ผู้ตัดสินอาจให้มีการกำหนดเวลาในการแทงแต่ละไม้ และจับเวลาด้วยนาฬิกา ซึ่งจะต้องใช้กับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย

    หากผู้เล่นใช้เวลาคิดนานเกินกว่าที่ทางการแข่งขันกำหนด ถือเป็นการทำฟาล์วทั่วไป และผู้เล่นคนต่อไปจะได้เล่นตามกติกาที่แต่ละเกมระบุไว้ (การทำฟาล์ว (Fouls) ของการกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct) อาจนำมาใช้พิจารณาด้วย)

  16. การกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportsmanlike Conduct)

    การปรับฟาล์วและการลงโทษการเล่นในกรณีนี้ โดยทั่วไปถือว่าเป็นการทำฟาล์วขั้นรุนแรง แต่ผู้ตัดสินก็อาจลงโทษด้วยดุลยพินิจตามกฏที่ตั้งไว้ของเกมนั้น ๆ ได้ ผู้ตัดสินอาจตักเตือน ปรับฟาล์ว ซึ่งอาจนำมานับเป็นหนึ่งในสามของการทำฟาล์วที่ต่อเนื่องกันได้ การปรับฟาล์วขั้นรุนแรง อาจหมายถึงการถูกปรับแพ้ในเกมนั้น หรือแพ้ในแมตช์นั้น การถูกถอนสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน ซึ่งจะไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งถ้วยรางวัล หรือแม้แต่คะแนนสะสมด้วย

    การกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ (Unsportmanlike Conduct) ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียของวงการกีฬา ซึ่งอาจทำให้การแข่งขันต้องหยุดชะงัก และไม่เกิดความยุติธรรมกับผู้เล่นอื่น ๆ ทั้งนี้หมายรวมถึง

    1. การรบกวนสมาธิของคู่แข่งขัน (distracting the opponent)
    2. แอบเคลื่อนย้ายตำแหน่งของลูกบนโต๊ะ (changing the position of the balls in play other than by a shot)
    3. แกล้งทำเป็นแทงผิด (playing a shot by intentionally miscuing)
    4. ยังคงเล่นต่อเมื่อถูกขานฟาล์ว หรือหลังจากที่การแข่งขันถูกระงับไปแล้ว (continuing to play after a foul has been called or play has been suspended)
    5. ซ้อมแทงในระหว่างการแข่งขัน (practicing during a match)
    6. ทำเครื่องหมายใด ๆ บนโต๊ะ (marking the table)
    7. เจตนาถ่วงเวลาในการเล่น (delay of the game)
    8. ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม (using equipment inappropriately)

Refer to:

No comments:

Post a Comment